ทำกายภาพบำบัด รักษาอาการเจ็บป่วยแบบไหนได้บ้าง

หากจะพูดถึง กายภาพบำบัด ใครหลายคนอาจจะนึกถึงการทำการรักษาอาการเจ็บปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยการนวด การยืดเส้น หรือการจัดกระดูก ซึ่งต้องบอกเลยว่าหากจะนึกถึงการรักษาเหล่านั้นก็ไม่ผิดนัก เพราะการรักษาด้วยวิธีเหล่านั้นเป็นหนึ่งในการรักษาทางกายภาพบำบัด นอกจากนั้นการรักษาทางกายภาพบำบัดยังมีวิธีการอื่นๆ อีกด้วย ดังนั้นวันนี้เราจึงจะพาทุกคนมาดูกันว่าจริงๆ แล้วการทำกายภาพบำบัดมีอะไรกันบ้าง และใช้เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยแบบไหนบ้าง

การทำกายภาพบำบัดมีแบบไหนบ้าง

กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Orthopedic)

ทำการตรวจวินิจฉัย และทำการรักษา ภาวะความผิดปกติ หรืออาการบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อกระดูก รวมถึงการฟื้นฟูผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดข้อต่อ ผู้ที่จำเป็นต้องขยับหรือเคลื่อนข้อต่อ ผู้ที่มีความจำเป็นต้องทำการตัดแขนขา เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและฝึกการเคลื่อนที่และทรงตัว สามารถทำการรักษาด้วยวิธีประคบร้อนหรือเย็น การกระตุ้นไฟฟ้า การทำวารีบำบัด รวมไปถึงการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยในการรักษาอีกด้วย

กายภาพบำบัดระบบประสาท (Neurological)

การตรวจวินิจฉัย ทำการรักษา รวมถึงการดูแลผู้ที่มีภาวะโรคหรือความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคอันเกิดจากการที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน โรคสมองพิการแต่กำเนิด โรคพาร์กินสัน หรือโรคที่เกิดจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทบริเวณหลัง, ภาวะอ่อนแรง (Paralysis) เป็นต้น

กายภาพบำบัดระบบหลอดเลือดและหัวใจ (Cardiopulmonary)

ทำการตรวจวินิจฉัย รักษาผู้ป่วยทั้งหลายผู้ที่มีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือ ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจและปอด

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเด็ก (Pediatric)

ตรวจหาทำการวินิจฉัย ให้การรักษา และการจัดการในเด็กทารก เด็ก และวัยรุ่น เกี่ยวกับ ภาวะที่ผิดปกติต่างๆ ตั้งแต่กำเนิดทั้งหลาย เช่น พัฒนาการ ระบบกล้ามเนื้อและประสาท ระบบกระดูก ภาวะโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังจากการคลอดแล้ว โดยการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่ การเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการควบคุมกล้ามเนื้อ การทรงตัวและความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการแปลผลทางการรับรู้ การรับสัมผัส โดยผู้ป่วยส่วนหนึ่งของนักกายภาพบำบัดในเด็ก คือ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า สมองพิการแต่กำเนิด เป็นต้น

กายภาพบำบัดผู้สูงวัย (Geriatric)

เน้นทำการรักษาและตรวจวินิจฉัยไปที่กลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งมีความผิดปกติหลากหลายสภาวะ เช่น โรคข้ออักเสบ ภาวะกระดูกบาง โรคมะเร็ง โรคอัลไซเมอร์ การเปลี่ยนข้อต่อต่างๆ ภาวะการสูญเสียการทรงตัว การกลั้นปัสสาวะ-อุจจาระไม่อยู่ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการทำกายภาพบำบัดในแขนงอื่นๆ ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักหรือคุ้นเคยกันอีกด้วย เช่น

กายภาพบำบัดเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพสำหรับนักกีฬา

กายภาพบำบัดเพื่อการกีฬา เป็นการดูแลและเพิ่มความพร้อมแก่นักกีฬาทั้งก่อน-ขณะ-และหลัง ทำการแข่งขัน เพื่อให้ร่างกายของนักกีฬาแข็งแรง สมบูรณ์เต็มที่ และช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บของนักกีฬาที่อาจเกิดขึ้นได้

กายภาพบำบัดระบบผิวหนัง และอวัยวะที่เกี่ยวข้อง (Integumentary)

กายภาพบำบัดสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

การตรวจรักษาและดูแลหญิงตั้งครรภ์ โดยการเตรียมความพร้อมให่แก่หญิงตั้งครรภ์ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงระหว่างตั้งครรภ์ และภายหลังจากคลอดบุตร

กายภาพบำบัดจักษุวิทยา

การทำกายภาพบำบัดเพื่อการดูแลรักษาทางด้านดวงตา ซึ่งยังไม่เป็นนิยมในเมืองไทยมากนัก